หัวข้อข้อเสนอของสภาฯ ท่องเที่ยวที่เสนอให้ ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 20,000 บาทต่อปี
นักเศรษฐศาสตร์ 45.5% เท่ากันที่สนันสนุนและไม่สนับสนุนข้อเสนอลดหย่อน ภาษีท่องเที่ยว 20,000 บาทต่อปี
ผู้สนันสนุนให้เหตุผลว่า ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ
ผู้ไม่สนับสนุนให้เหตุผลว่า ผู้ได้ประโยชน์ที่สำคัญคือผู้ที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว และธุรกิจบางกลุ่ม
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง
จำนวน 66 คน เรื่อง "ข้อเสนอของสภาฯ ท่องเที่ยวที่เสนอให้ ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว
20,000 บาทต่อปี"
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 – 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  นักเศรษฐศาสตร์มีความคิดเห็นต่อข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (สทท.) ที่เสนอให้ นำค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว (ค่าโรงแรมที่พัก
/ค่าใช้บริการบริษัทนำเที่ยว) มาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในวงเงินรวม
ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยมีนักเศรษฐศาสตร์
ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นสัดส่วนเท่ากัน คือเท่ากับร้อยละ 45.5
 
                  โดยกลุ่มที่เห็นด้วยได้ให้เหตุผลสนับสนุนที่สำคัญว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้น
การท่องเที่ยวในประเทศ ส่งเสริมให้คนหันมาท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้นแทนการ
ท่องเที่ยวต่างประเทศ
 
                  ส่วนกลุ่มที่ไม่สนับสนุนให้เหตุผลที่สำคัญว่า ผู้ได้ประโยชน์ที่สำคัญคือผู้ที่มีรายได้สูงอยู่แล้วและธุรกิจบางกลุ่ม
ไม่ได้ช่วยคนรายได้น้อย
 
                  เมื่อถามต่อว่าข้อเสนอลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 20,000 บาทต่อปี ควรเป็นมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
ในระยะสั้น หรือควรเป็นมาตรการระยะยาว ร้อยละ 45.5 เห็นว่าควรเป็นมาตรการระยะสั้น และในจำนวนนี้ร้อยละ 28.8 เห็นว่า
ไม่ควรเกิน 1 ปี
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จะเสนอแนวคิด
                 นำค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว (ค่าโรงแรมที่พัก/ค่าใช้บริการบริษัทนำเที่ยว) มา
หักเป็นค่าลดหย่อน
                 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 บาทต่อปีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว

                 ภายในประเทศ


ร้อยละ
 
45.5
เห็นด้วย เพราะ
(1) เป็นการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งเสริมให้คนหันมาท่องเที่ยวภายในประเทศ
      มากขึ้นแทนการท่องเที่ยวต่างประเทศ
(2) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม เพิ่มการจับจ่าย สร้างงานสร้างอาชีพ
(3) พลักดันให้ผู้ประกอบการมีการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น และช่วยพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว
45.5
ไม่เห็นด้วย เพราะ
(1) ผู้ได้ประโยชน์ที่สำคัญคือผู้ที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว และธุรกิจบางกลุ่ม ไม่ได้ช่วยคนรายได้น้อย
(2) การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีอยู่แล้ว อีกทั้งการมีวันหยุดเยอะก็ช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยว
     อีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงควรนำเงินงบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นดีกว่า เช่น ช่วยเหลือ sector
     ที่มีปัญหาหรือนำไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน่าจะเหมาะสมกว่า
(3) การท่องเที่ยวไม่ใช่ความจำเป็นพื้นฐาน นักท่องเที่ยวมีความเต็มใจจ่ายอยู่แล้ว
(4) อื่นๆ คือ ตรวจสอบยาก/เป็นภาระงบประมาณ/ยกเลิกกฏอัยการศึกน่าจะดีกว่า/นำงบประมาณ
     ไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน่าจะเหมาะสมกว่า
9.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
      หมายเหตุ: เหตุผลประกอบมาจากข้อคำถามปลายเปิด
 
             2. ท่านคิดว่าแนวคิดลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 20,000 บาทต่อปี ควรเป็นมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
                 ในระยะสั้น หรือควรเป็นมาตรการระยะยาว


ร้อยละ
 
45.5
ควรเป็นมาตรการระยะสั้น โดย...
  ร้อยละ
3.0
ไม่ควรเกิน 3 เดือน
  ร้อยละ
9.1
ไม่ควรเกิน 6 เดือน
  ร้อยละ
28.8
ไม่ควรเกิน 1 ปี
  ร้อยละ
4.6
อื่นๆ ไม่ควรเกิน 2-5 ปี
16.7
ควรเป็นมาตรการระยะยาว
34.8
ไม่สนับสนุนมาตรการดังกล่าว
3.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ว่าเห็นด้วยหรือไม่ต่อ "ข้อเสนอของสภาฯ ท่องเที่ยวที่เสนอให้
ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 20,000 บาทต่อปี" รวมถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อข้อมูลการสำรวจ
จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน
29 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์
และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  15 – 25 สิงหาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 กันยายน 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
33
50.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
31.8
             สถาบันการศึกษา
12
18.2
รวม
66
100.0
เพศ:    
             ชาย
41
62.1
             หญิง
25
37.9
รวม
66
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.5
             26 – 35 ปี
14
21.2
             36 – 45 ปี
27
40.9
             46 ปีขึ้นไป
23
34.9
               ไม่ระบุ
1
1.5
รวม
66
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.5
             ปริญญาโท
46
69.7
             ปริญญาเอก
17
25.8
รวม
66
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
5
7.5
             6 - 10 ปี
20
30.3
             11 - 15 ปี
11
16.7
             16 - 20 ปี
11
16.7
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
27.3
             ไม่ระบุ
1
1.5
รวม
66
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776